ไม่พบคราบน้ำมัน หาดแม่รำพึงและในทะเล เล็งปิดศูนย์บัญชาการฯ ส่วนหน้าและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (ชมคลิป)

ไม่พบคราบน้ำมัน หาดแม่รำพึงและในทะเล เล็งปิดศูนย์บัญชาการฯ ส่วนหน้าและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=UkiRZvsTRp0[/embedyt]

วันที่ 2 ก.พ.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเกิดเหตุน้ำมันดิบของ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) รั่วไหลจากท่อใต้ทะเลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึก หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล (SPM) จำนวน 160,000 ลิตร เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 ที่ผ่านมา พัดเข้าชายหาดแม่รำพึง สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ซึ่งทางจังหวัดระยอง ได้ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 1/ศรชล.ภาค 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งกำจัดคราบน้ำมันจนสถานการณ์คลี่คลาย ไม่พบคราบน้ำมันในทะเล และบริเวณหาดแม่รำพึงที่เจ้าหน้าที่ ได้จัดเก็บและเคลียร์พื้นที่แล้ว จนไม่มีคราบน้ำมันแล้ว เช่นเดียวกัน


ล่าสุดในวันนี้ ทางจังหวัดระยอง ทัพเรือภาคที่ 1/ ศรชล.ภาค 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีการตั้งคณะกรรมการจาก 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการท่องเที่ยว ประชาชน ร้านอาหารริมชายหาด และภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบบริเวณชายหาดแม่รำพึงและในทะเล เพื่อประเมินสถานการณ์พื้นที่จริง ช่วงน้ำทะเลลง เพื่อให้มั่นใจว่าไม่พบคราบน้ำมันบริเวณชายหาดและในทะเลแล้วจริงๆ พร้อมจะมีการประกาศ ปิดศูนย์บัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉินส่วนหน้าและศูนย์ปฏิบัติงาน ของส่วนราชการทุกหน่วยงาย ที่มาเปิดปฏิบัติการกู้คราบน้ำมัน ดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การเฝ้าระวังปัญหาคราบน้ำมันบริเวณชายหาดแม่รำพึงทั้งในทะเลและพื้นที่อื่นๆ จะยังคงมีชุดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าสังเกตุการณ์ คราบน้ำมันที่อาจจะหลงเหลือและเล็ดลอดพัดเข้าฝั่ง ตลอด 24 ชม.


และตลอดระยะเวลที่ผ่านมา กองทัพเรือ โดยทัพเรือภาคที่ 1 ศรชล.ภาค 1 และศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดระยอง กรณีน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล(ชายหาดแม่รำพึง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง) ศูนย์ติดตามสถานการณ์แก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันจังหวัดระยอง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระยอง (ศรชล.จว.ระยอง) ได้ดำเนินการในกรณีน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเล ร่วมกับ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศคปน.ทรภ.1 กรมเจ้าท่า ทช. กรมควบคุมมลพิษ อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า–หมู่เกาะเสม็ด IESG และ ทสม.ระยอง มาอย่างต่อเนื่อง มีกำลังพลของกองทัพเรือ จากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำนวน 600 นาย จากหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและชายฝั่ง จำนวน 600 นาย รวม 1,200 นาย จนท.จากกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ จากทัพเรือภาคที่ 1 ส่งเรือรบ/อากาศยานเข้า สนับสนุนอละปฏิบัติการทั้งผิวพื้นทะเลและชายฝัง ขณะเดียวกันได้ส่งทีมนักประดาน้ำจากกองทัพเรือ และจาก SPRC ดำน้ำลงสำรวจพื้นที่ใต้ทะเล อีกด้วย


นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี รายงาน 0909535645

Related posts