ระยอง-เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่นหนังสือให้ผู้ว่าฯระยองเร่งตรวจสอบกรณีน้ำมันดิบรั่วไหล

ระยอง-เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่นหนังสือให้ผู้ว่าฯระยองเร่งตรวจสอบกรณีน้ำมันดิบรั่วไหล

 

โดยหนังสือลง วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
เรื่อง เร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล บมจ.สตาร์ปิโตรเลียม ท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง
เรียน. ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยอง

ด้วยเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๒๑.๐๖ น. พบน้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุกถ่ายน้ำมันในทะเล Single point mooring : (SPM) ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน ) หรือ SPRC ซึ่งตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบเกิดความเสียหายมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ต่อตัวบุคคล กลุ่มบุคคลในสังคมเป็นวงกว้างก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อม แหล่งอาหาร ทรัพยากร และระบบนิเวศน์ในทะเลอ่าวไทย ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือของบุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน และยังกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดระยอง ในหลายมิติ น้ำมันดิบที่รั่วไหลซึ่งถือเป็นวัตถุอันตรายมีพิษ ประกอบกับในขณะเกิดเหตุนั้นพื้นที่ดังกล่าวถือได้ว่า เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ตามคำนิยาม แหล่งกำเนิดมลพิษ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๔ และถือได้ว่าน้ำมันดิบที่รั่วไหลออกจากท่อขนถ่ายน้ำมัน(น้ำมันดิบ) ออกสู่ทะเลยังเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๗


นอกจากนี้ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รี ไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้เกิดเหตุซ้ำซ้อน เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๐๙.๒๐ น.เหตุที่เกิดขึ้นถือว่าเป็น โศกนาฎกรรมทางทะเลซ้ำในพื้นที่ทะเลระยอง อีกครั้ง น้ำมันดิบรั่วไหลประมาณ ๕,๐๐๐ ลิตร(ตัวเลขยังไม่ปรากฎเป็นที่แน่ชัด ทั้งสองเหตุการณ์ ) เกิดขึ้นซ้ำเป็น ครั้งที่ ๒ ตรงบริเวณเดิม บริษัท สตาร์ ปิโตรลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ประกอบกับเป็นบริษัท มหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจปิโตรเลียม จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงต้องประกอบกิจการด้วยความระมัดระวัง ความซื่อสัตย์ และความโปร่งใส การกระทำที่เป็นผู้ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษจะเป็นการกระทำที่ ประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังอย่างบุคคลผู้มีวิชาชีพพึงระวังส่งผลทำให้เกิดอันตรายและส่งผลกระทบในหลายมิติ ด้วยเหตุดังกล่าวเครือข่ายสมาคมฯจึงนำความมาร้องเรียนและขอใคร่ความอนุเคราะห์ต่อ
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดระยองเร่งตรวจสอบสาเหตุสถานการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล สั่งการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่ง
แก้ไข และเร่งรัดพลักดัน การชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด เร่งสำรวจฟื้นฟู
ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๑ บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ ( ๑ ) ได้รับ
ทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในความครอบครองของหน่วยงานรัฐ และหมวดที่ ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๓ รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด , มาตรา ๕๗ ( ๒ ) อนุรักษ์
คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการและใช้หรือจัดให้มีการใช้ประ โยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและได้ประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว , มาตรา ๕๘ รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของหน่วยงานรัฐที่มิใช่ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐหรือเป็นความลับของทางราชการตามที่กฎหมายบัญญัติ และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวโดยสะดวกเครือข่ายสมาคมฯและเป็นผู้มีทะเบียนบ้านในจังหวัดระยองอีกทั้งหมวดที่ ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก หน้า ๑๓ มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ดังนี้ ( ๘ ) ร่วมมือสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทาง ชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม เครือข่ายสมาคมฯ จึงขอให้มีการตรวจเร่งสอบโดยเร็วพลันพร้อมเร่งหาผู้ที่กระทำการละเมิดกฎหมายแพ่งและอาญา และขอให้เปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงโดยมีรายละเอียดทั้งดังนี้
๑ น้ำมันดิบที่รั่วไหล ทั้งสองเหตุการณ์มีจำนวนปริมาณเท่าไหร่ ปัจจุบันยังมีความสับสน คลุมเครือ เนื่องจากยัง
ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัวเลขแรกที่ทุกคนรับรู้คือ ๔๐๐,๐๐๐ ลิตร หลังการประเมินใน
คืนแรก
๒ จากการที่ใช้สารเคมี Dispersant เพื่อสลายคราบน้ำมันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ใช้ในปริมาณเท่าไหร่ (ครั้งแรก
ใช้ไปทั้งสิ้นสามครั้ง ประมาณ ๘๕,๐๐๐ ลิตร ใช่หรือไม่และในครั้งที่ ๒ ที่เกิดเหตุในวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ได้มีการใช้สารเคมี Dispersant หรือไม่และถ้ามีการใช้ ใช้ในปริมาณเท่าไหร่ และทั้งสองเหตุการณ์ การใช้สาร Dispersant ระดับความลึกของน้ำทะเลมีความลึกเท่าไหร่ และห่างจากฝั่ง เท่าไหร่ (เพราะในปี ๒๕๕๖ ที่บริษัท ปิโตเลียม แห่งหนึ่งเคยเกิดเหตุในลักษณะนี้ กล่าวคือน้ำมันดิบรั่วไหลกระจายออกสู่ทะเล
จำนวนกว่า ๕๐ ตันหรือประมาณ ๕๔,๓๔๑ ลิตร คณะกรรมการฯระบุว่าได้ใช้สารเคมีไปทั้งสิ้น ๓๗,๕๕๔ ลิตร เพื่อกำจัดคราบน้ำมันขณะที่อัตราส่วนที่เหมาะสมตามหลักเกณฑ์สากลคือ ๑ ต่อ ๑๐ กล่าวคือ สารเคมี ๑ ส่วน ต่อปริมาณน้ำมันดิบ ๑๐ ส่วน)
๓ บริษัท ( SPRC ) ได้จัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ขจัดคราบน้ำมันในกรณีฉุกเฉินซึ่งสอดคล้องกับมาตราฐาน
ความปลอดภัยสากล หรือไม่ อย่างไร
๔ บริษัท ( SPRC ) ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย เรื่องการขนส่งน้ำมันทางทะเลตามกฎหมาย หรือไม่ อย่างไร
๕ บริษัท ( SPRC ) เข้าข่ายตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยการกำหนดโครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมประเภท โครงการ ( EIA ) ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในเล่ม
รายงาน EIA หรือไม่
๖ ขอให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบ ISO 14001:2015 มาตรฐานระบบบริหารสิ่งแวดล้อม และ
ISO 45001:2018 มาตรฐานระบบบริหาร ด้านชีวะอนามัย และความปลอดภัย หากปรากฏว่าไม่เป็นไปตาม
มาตราฐานที่กฎหมายกำหนด ขอให้ทบทวน พิจารณาเพิกถอน ISO ดังกล่าวเสีย รวมถึง ISO ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนี้
๗ **** ขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีบทบาทในเชิงรุกจัดอำนวยความยุติธรรมให้กับสังคมตามหลัก
กฎหมายมหาชน เร่งพลักดันเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด และจริงจังโดยคำนึงถึงสิทธิชุมชนของประชาชน อันจะอำนวยความยุดิธรรมได้อย่างเต็มที่ และเพื่อให้สมกับ บริษัทผู้ก่อเหตุดังกล่าว เป็น บ. มหาชน
ลงชื่อ นายวีระชัย ช้างสาร
เครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนภาคตะวันออก

Related posts