เพชรบูรณ์-เปิดโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตรกร (ชมคลิป)

นายสมศักดิ์ เกี้ยวเกิด นายอำเภอวังโป่งเป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กิจกรรมนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผาที่ บ้านร่องตะแบก หมู่ 9 ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์โดย นางสาวบุญญาพร ทิพยบวรกุล เกษตรอำเภอวังโป่งกล่าวรายงานพร้อมทั้งหัวหน้าส่วนราชการและเกษตรกรในพื้นที่เข้าร่วมงาน

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=ZzcdUCUIjb0[/embedyt]

โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กิจกรรม นำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา และสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทย ประสบปัญหาหมอกควันปกคลุมและเกิดมลพิษทางอากาศเป็นประจำทุกปิ โดยมีสาเหตุหลัก คือ ขาดความรู้ความเข้าใจ และวิธีการปฏิบัติในอดีตที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา ว่าการเผาสามารถกำจัดโรคและแมลงได้และทำให้ดินร่วนซุย การเผามี 2 ลักษณะ คือ การเผาในพื้นที่โล่งแจ้ง หรือ พื้นที่การเกษตร และเผาในพื้นที่ป่า ซึ่งการเผาจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยชองประชาชนและทำลายระบบเศรษฐกิจของชุมชน ในภาพรวมของประเทศมากขึ้นนอกจากนั้นส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพการเกษตร

ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้ดินเสื่อมโทรม โรคแมลงระบาดเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตลดลง รัฐบาลจึงได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบดำเนินการควบคุมการเผาในพื้นที่การเกษตรโดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร ผ่านสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ ดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและปรับเปลี่ยนในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา

สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างตันแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผา เพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ ประสบปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรจึงได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่ พื้นที่ที่นำร่องกลุ่มเดิม ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอหนองไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ และอำเภอชนแดน และพื้นที่นำร่องกลุ่มใหม่ คือ อำเภอวังโป่ง


ทั้งนี้กิจกรรมที่ต้องดำเนินงานในพื้นที่อำเภอวังโปง 3 กิจกรรม 1.ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผา 2. นำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตรทดแทนการเผา 3. ส่งเสริมการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผา
ทั้งนี้ภายในงานโดยมีสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบของการเผาที่มีต่อสภาพแวดล้อมและสุขอนามัย สาธิตการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน เทคโนโล่ยีและนวัตรกรรม นำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำ การเกษตร รวมทั้งสร้างการมส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผา


กระบวนการจัดฝึกอบรมในวันนี้ประกอบด้วย 2อย่าง คือ เวทีเสวนาให้ความรู้ในด้านการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ผลกระทบที่เกิดจากการเผาในพื้นที่การเกษตร และสาธิตการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน เทคโนโลยีและนวัตรกรรม โดยแบ่งฐานเรียนรู้เป็น 4 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 สาธิตการทำปุ๋ยไม่กลับกอง ฐานที่ 2 สาธิตการผลิตอาหารสัตว์และประมง และ ฐานที่ 3 สาธิตการทำภาชนะจากใบพืชฐานที่ 4 สาธิตการทำปุ๋ยพืชสด และมีการไถกลบตอฟางข้าวหว่านปอเทืองทำปุ๋ย

เดชา มลามาตย์/มนสิชา คล้ายแก้ว

Related posts