กระบี่-ภาคประชาสังคม จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “มุมมองการพัฒนาเมืองกระบี่”เชิญว่าที่ ส.ส.รับฟังปัญหา ของชาวบ้านเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของพรรคในสภาฯ โดยมีพรรคการเมือง จำนวน 8 พรรคฯเข้าร่วม

กระบี่-ภาคประชาสังคม จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “มุมมองการพัฒนาเมืองกระบี่”เชิญว่าที่ ส.ส.รับฟังปัญหา ของชาวบ้านเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของพรรคในสภาฯ โดยมีพรรคการเมือง จำนวน 8 พรรคฯเข้าร่วม

วันที่ 3 พ.ค.66
สมาคมสานพลังเครือข่ายพัฒนาสังคมสุขภาวะจังหวัดกระบี่ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ สภาเกษตรจังหวัดกระบี่ ได้จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “มุมมองการพัฒนาเมืองกระบี่” ณ บริเวณลานไม้มะหาด ริมเขื่อนปากแม่น้ำเมืองกระบี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสาธารณะให้ผู้แทนพรรคการเมืองได้มาแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายต่อปัญหาความต้องการของประชาชนในจังหวัดกระบี่ ผ่านช่องทาง Online ทาง Facebook Live กระบี่ทีวีออนไลน์ โดยมี พรรคการเมือง จำนวน 8 พรรค ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย พรรคคลองไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล พรรครักผืนป่าประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วม


นายทวีชัย อ่อนนวน นายกสมาคมสานพลังเครือข่ายพัฒนาสังคมสุขภาวะ จ.กระบี่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาภาคประชาสังคม ได้มีการลงพื้นที่สอบถามปัญหาความต้องการของภาคประชาชน และได้กำหนดเป็นประเด็นปัญหา เพื่อที่จะเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ปัญหาและในขณะนี้ เป็นช่วงการหาเสียงเลือกตั้งของนักการเมืองจึงถือโอกาสจัดเวทีนโยบายสาธารณะ “มุมมองการพัฒนาเมืองกระบี่” เพื่อให้ผู้สมัคร ส.ส.ได้แสดงความคิดเห็น และนำไปกำหนดเป็นนโยบายต่อไป หากว่าได้รับการเลือกตั้ง


พร้อมกันนี้ ได้ส่งมอบเอกสารข้อเสนอเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดกระบี่ และข้อเสนอต่อพรรคการเมือง ในโอกาสที่ภาคประชาสังคม ได้จัดเวทีนโยบายสาธารณะ “มุมมองการพัฒนาเมืองกระบี่” เพื่อให้ผู้สมัคร ส.ส.ได้แสดงความคิดเห็น และนำไปกำหนดเป็นนโยบายต่อไป หากว่าได้รับการเลือกตั้ง สำหรับข้อเสนอต่อพรรคการเมือง 6 ประเด็น คือ

1.กำหนดให้นโยบายและมาตรการในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญ ได้แก่ การลดความเหลื่อมล้ำทุกมิติ การแก้ปัญหาความยากจน การสร้างสังคมที่เป็นธรรมและสมานฉันท์ การกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่นให้มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเป็นหุ้นส่วนกับภาครัฐ รวมถึงจัดให้มีกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐบาล กับเครือข่ายองค์กรชุมชนและประชาสังคม ปรับวิธีการสนับสนุนงบประมาณ โดยให้ชุมชนสามารถรับการสนับสนุนงบประมาณได้โดยตรง เพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชน/หรือองค์กรภาคประชาชน/ประชาสังคม สามารถจัดการตนเองได้จริง


2. ปฏิรูปที่ดินของรัฐเพื่อการอยู่อาศัยและการทำกินของคนจน ทั้งในเมืองและชนบท การแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรค และสนับสนุนทางการเงินให้คนจนสามารถมีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินได้อย่างเหมาะสม

3. เร่งสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มั่นคง เกิดมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านการผลิตการตลาด การบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) สร้างดุลยภาพการพัฒนา
ที่ยั่งยืนเป็นการจัดระบบธุรกิจชุมชนในระดับจุลภาค 3 ประการ (1) เพิ่มรายได้ให้กับบุคคลครัวเรือน (2) สร้างมูลค่าส่วนเกินให้สังคมชุนชน มีรายได้ (3) ทำให้ฐานทรัพยากรมีความยั่งยืน


4. ผลักดันให้การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุ เป็นวาระแห่งชาติ อย่างแท้จริง โดยรณรงค์ให้คนไทยระหนักถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ตามแนวทางการพัฒนาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการกิจการผู้สูงอายุระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน เพื่อผลักดันให้การขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุพัฒนาการบริการด้านสุขภาพ (Weliness) แบบองค์รวมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
5 กำหนดให้มีนโยบายการดูแลเด็กตั้งแต่ช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ต่อเนื่องไปจนถึงเด็กอายุ 5 ปี และส่งเสริมสุขภาพสตรี โดยการร่วมลงทุนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน

และ 6. การส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาแก่ประชาชนตลอดช่วงชีวิต และการสร้างหลักประกันทางการศึกษาที่มีกระบวนการพัฒนาศักยภาพเด็กตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ถึงปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย และมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เร่งพัฒนาทักษะวัยรุ่น/วัยเรียนให้มีสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การส่งเสริม สนับสนุน สร้างโอกาสการเรียนรู้แก่วัยแรงงานให้มีความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีทักษะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาแก่ประชาชนตลอดช่วงชีวิต

โดยก่อนหน้านี้ ทางสมาคมฯ ได้มีหนังสือขออนุญาตไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกระบี่ เพื่อการดังกล่าว
ทางสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกระบี่ ได้มีหนังสือแจ้งว่า การจัดเวทีนโยบายสาธารณะ “มุมมองการพัฒนาเมืองกระบี่” ของสมาคมสานพลังเครือข่ายพัฒนาสังคมสุขภาวะจังหวัดกระบี่ สามารถกระทำได้

ทั้งนี้ ต้องดำเนินการด้วยความเป็นกลาง ให้ความเท่าเทียมกันทุกพรรคและต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำการใดๆ อันเป็นการผ่าฝืนมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
และไม่ขัดต่อระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3 )พ.ศ. 2565…

กระบี่///ณัฏฐพงษ์ ศรีปล้อง รายงาน

Related posts