รายงานพิเศษ ความคืบหน้าของโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ ที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่า”มีธงนำ” เพื่อ”ล้มเลิก” มากกว่าการ”เดินหน้า” จริงหรือไม่

เมือง ไม้ขม
รายงานพิเศษ ความคืบหน้าของโครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ ที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่า”มีธงนำ” เพื่อ”ล้มเลิก” มากกว่าการ”เดินหน้า” จริงหรือไม่

หลังจากที่ ประชาชน ชาว อ.จะนะ จ.สงขลา ได้ เรียกร้องให้ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สศช.) ซึ่งเป็น “เจ้าภาพ” ในการทำหน้าที่”ขับเคลื่อน” โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ หรือ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” ซึ่งเป็น โครงการของ “รัฐบาล” ในการ “พัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” และ เลขาธิการ “สศช.” ก็มีการ “ตกปากตกคำ” กับ”ตัวแทนของ ประชาชนชาวจะนะ ที่ได้เข้าไปพบเมื่อเดือน มกราคม ที่ผ่านมา ว่าจะทำการ”ขับเคลื่อน” ในประเด็นการ”ศึกษาในเรื่อง”สิ่งแวดล้อม”ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งการ”รับฟังความคิดเห็น” จะไม่มีการ”กระจุกตัว” เฉพาะกลุ่ม “เอ็นจีโอ” และ”ผู้เห็นต่าง” ที่เป็น”เสียงส่วนน้อย” เมื่อเทียบกับ”ประชาชน”ที่”เห็นด้วย”กับ”โครงการดังกล่าว


วันนี้ฯจึงได้เห็นการ”ขับเคลื่อน” ที่ถือว่า”เป็นชิ้นเป็นอัน” จาก”สภาพัฒน์”ฯ คือมีการมอบหมายให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ หรือ”มอ.หาดใหญ่” เป็นผู้รับผิดชอบในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ในกรอบที่มีการกำหนดไว้คือ”การศึกษาประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ประกอบแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สงขลา-ปัตตานี เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ในการเปิดการปฐมนิเทศระดมความคิดเห็น “โครงการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ สงขลา- ปัตตานี ณ หอประชุมศูนย์ประชุม โดยมีนายดนุต พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เป็นประธานในพิธี


ซึ่ง คณะผู้รับผิดชอบในโครงการนี้ ที่เป็น”คณาจารย์”ของ”มอ.หาดใหญ่ ได้ตั้งกรอบในการระดมความคิดเห็นออกเป็น 4 กลุ่ม ใน 3 ประเด็น
1 ,ความคิดเห็นในภาพรวมในข้อเสนอแนะ ข้อสงสัย หรือความกังวลต่อโครงการดังกล่าว 2,ปัญหาและความต้องการพัฒนา ภาพอนาคตที่ต้องการ และแนวทางพัฒนาพื้นที่ จ.สงขลา อย่างยั่งยืนในแต่ละด้าน 3, ด้านที่ 1, เศรษฐกิจ ด้านที่ 2 , สังคมวัฒนธรรม” ด้านที่ 3 สิ่งแวดล้อม และ ด้านที่ 4 ,สุขภาพและทรัพยากรมนุษย์ และ 3,เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ให้ความสำคัญมากที่สุด สำหรับการพัฒนา จ,สงขลา
หลังจากที่มีผู้เห็นเอกสารในการ กำหนดกรอบ เพื่อรับฟังความคิดเห็น” จาก คณะผู้จัดทำ หรือ เจ้าหน้าที่หรือคณาจารย์ ผู้รับผิดชอบต่อ โครงการดังกล่าว ของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ( มอ.หาดใหญ่) ต่างมีการตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการกำหนด”กรอบที่กว้างเกินไป” และน่าจะไม่”สอดคล้อง” กับ “กรอบของสภาพัฒน์” ที่กำหนดเอาไว้ ที่ต้องการให้”ปาระเมินศึกษาผลประทบด้านสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ เพื่อประกอบแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจ สงขลา –ปัตตานี อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งประเด็นการศึกษาที่ จัดทำโดย มอ.หาดใหญ่” เป็นการ เริ่มต้นที่เดิน”เข้าทาง” ของ”เอ็นจีโอ” ที่เป็นกลุ่มผู้นำ”ประชาชน” ที่”เห็นต่าง” ออกมา “คัดค้าน”โดยมีธงให้”ล้มเลิก” โครงการ” เมืองต้นแบบที่ 4 ตั้งแต่ต้น มาแล้ว เท็จจริง อย่างไร ย่อมมี”ร่องรอย” ปรากฏ
ซึ่งต้องไปดูจากราชนามของ คณะทำงานชุดนี้ว่า เป็นชุดเดียวกับที่ “ปฏิเสธ” กับ”สภาพัฒน์”ว่าจะไม่รับเป็นผู้ทำโครงการนี้ เพราะไม่เห็นด้วยกับ”โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ หรือ”นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” มาตั้งแต่ต้น หรือไม่ ถ้าเป็นอย่างที่มีการตั้งข้อสงสัยจริง ก็ต้องมีคำตอบให้กับผู้สงสัยว่า ทำไม่สุดท้าย มอ.หาดใหญ่ จึงรับ”รับงาน”ในโครงการนี้ หลังจากที่มีการ”ปฏิเสธ” แล้ว
ที่มีผู้ออกมาตั้งข้อสังเกต ในหลายประเด็น เป็นเพราะโครงการนี้เป็น”โครงการใหญ่” และมีประชาชนจำนวนมากที่”เห็นด้วย” กับการที่จะมี”โครงการนี้” เพื่อการ”พัฒนา” ทั้งใน จ.สงขลา และ จังหวัด ปัตตานี,ยะลา และ นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ มีปัญหาเรื่องความ”ยากจน” และ”ว่างงาน” โดยคาดหวังว่า โครงการนี้ จะเป็น”ส่วนหนึ่ง” ของการแก้ปัญหาได้ แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม


ดังนั้นจะ”เริ่มต้น” ก็มีการ”วางกรอบ” ที่ไม่ถูกต้องเหมือนกับการ”มีธง” ที่จะ”ไม่เอา”โครงการนี้ จึงมีการ”วางกรอบ” ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกำหนด”หัวข้อ” ของการฟังความคิดเห็น” ที่ กว้างกว่า ที่เจ้าของ”โครงการ”คือ”สภาพัฒน์”ฯ ต้องการ เพื่อที่จะใช้ผลของการ”ประเมิน ว่า โครงการนี้ เป็นโครงการที่ ประชาชน คัดค้าน และไม่ “สอดคล้อง” กับการ”พัฒนา”ในพื้นที่ จ.สงขลา
ทราบว่า ในวันที่มีการ”ปฐมนิเทศ” เพื่อ”ระดมความคิดเห็น” กลุ่มผู้”เห็นต่าง” ที่”จัดตั้ง”โดย”เอ็นจีโอ” และ”แนวร่วมทาง”การเมือง” จะมีการนำ กลุ่มประมงชายฝั่ง และ นักเรียนนักศึกษาจาก”โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา” กว่า 500 คน ไป แสดงความคิดเห็นเพื่อ”คัดค้าน”
ดังนั้น ถ้าหัวข้อทั้ง 3 หัวข้อ ที่ถือเป็น”กรอบ” ที่ไม่ถูกต้อง และเกินกว่าความต้องการของ”สภาพัฒน์”ฯ แต่เป็นการ”เอื้อประโยชน์” ให้กับกลุ่มผู้ที่”คัดค้าน” ก็น่าจะเป็นการ”รับฟังความคิดเห็น” ที่”ผิดพลาด” เช่นเดียวกับที่กลุ่มผู้คัดค้านเคย โจมตี การเปิดเวที” รับฟังความคิดเห็น” ที่จัดโดย “ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ “ ( ศอ.บต. ) ที่ผ่านมานั่นเอง
ก็ฝากให้กับ “ทุกภาคส่วน” ที่มีความคิดเห็น อยากเห็นการ”พัฒนา” อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ “ติตาม” เวที”ระดมความคิดเห็น” ที่ มอ.หาดใหญ่ เป็น”เจ้าภาพ” จัดขึ้นใน ว่าเป็นไปใน”ทิศทาง” ของ สถาบันการศึกษา ที่มีความ”เป็นกลาง” ในการทำหน้าที่ซึ่งมีผลในการ”พัฒนา” ประเทศ ที่มีผลต่อการแก้ปัญหาของ”ประเทศ”และ”ประชาชน” หรือไม่
ทั้งหมดที่กล่าวมา ไม่ได้”ติเรือทั้งโกลน” แต่ต้องการให้การ”รับฟังความคิดของประชาชนต่อ โครงการ”เมืองต้นแบบที่ 4 “ที่จะมีขึ้นในวันที่ 13 กพ.2566 มีความ”ถูกต้อง” มีความ”เป็นกลาง” และ”ไม่มีธงนำ” ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะถ้ากลายเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นที่”มีธงนำ” ให้กับ “ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากจะเป็นการ”สูญเปล่า” ของ”งบประมาณ” แล้ว ยังเป็นการ “ขยายความ”ขัดแย้ง” ให้เกิดขึ้นกับ “ประชาชน” ที่สำคัญคือความ”รู้สึกที่ไม่ดี” ต่อ “มหาวิทยาลัย ที่เป็น” ผู้จัดทำ” อีกต่างหาก

 

Related posts