วท.ระยอง แข่งขันทักษะช่างเชื่อมโลหะระดับภาค ตอ.และกรุงเทพฯ เผยขาดแคลนช่างเชื่อมโลหะ แนะส่งบุตรหลานเรียน

วิทยาลัยเทคนิคระยอง จัดแข่งขันทักษะสาขาวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะและเทคนิคโลหะระดับภาค ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานคร มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศด้านวิชาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานคุณภาพ

 


เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 18 ม.ค.65 ที่แผนกสาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะและเทคนิคโลหะ วิทยาลัยเทคนิคระยอง อ.เมือง จ.ระยอง นายสมชาย ธำรงสุข ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก เป็นประธานเปิดการแข่งขันแข่งขันทักษะสาขาวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะและเทคนิคโลหะ มีว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคระยอง กล่าววรายงาน ซึ่งการแข่งขันทักษะวิชาชีพดังกล่าว จัดขึ้นภายในงานงานประชุมองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับภาค ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 33 ประจำปีการศึกษา 2564 ซึ่งวิทยาลัยเทคนิคระยอง เป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 16-20 ม.ค.นี้ มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนสนับสนุนรวม 18 แห่ง มีนักเรียน นักศึกษาตัวแทนของอาชีวศึกษาจังหวัดภาคตะวันออกและกรุงเทพฯ เข้าร่วมการแข่งขัน 12 จังหวัด โดยแบ่งเป็นระดับ ปวช.และปวส.แข่งขันทักษะการเชื่อมแบบอาร์คทังสเตนแก๊สปกคลุม และกระบวนการเชื่อมโลหะด้วยลวด

เชื่อม(SMAW&GTAW)และการแข่งขันการตรวจสอบและทดสอบวัสดุงานเชื่อม (SMAW&GTAW&GMAW)ทั้งนี้มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาชีพแก่นักเรียนนักศึกษา และใช้ความรู้และทักษะที่ได้จากการเรียนและการฝึกมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงานจริงตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานคุณภาพ ตลอดจนเพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานความสามารถของนักเรียน นักศึกษาอีกด้วย
ว่าที่เรือตรีชูชีพ อรุณเหลือง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคระยอง เปิดเผยว่า การแข่งขันดังกล่าวเป็นรูปแบบใหม่ แข่งขันบนแฟลตฟอร์มออนไลน์ในบางประเภทกระจายในวิทยาลัยอื่น แต่ประสิทธิภาพยังคงเหมือนเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนของอาชีวศึกษาในการพัฒนาสถานศึกษาให้ดีขึ้นสอดคล้องกับตลาดแรงงาน โดยมุ่งส่งเสริมให้เด็กนักเรียน นักศึกษาจะได้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์นำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานในอนาคต


ด้าน นายสมชาย ธำรงสุข ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก เปิดเผยว่า สาขาวิชาชีพช่างเชื่อมโลหะและเทคนิคโลหะเป็นสาขาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเริ่มแรกผู้ปกครองยังไม่เข้าใจว่ามีความจำเป็นอย่างไร จะเห็นได้จากโครงสร้างพื้นฐาน งานก่อสร้างต่างๆ ล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีงานการเชื่อมทั้งนั้น โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกอยู่ในเขต EEC มีทั้งการผลิตชิ้นส่วนและผลิตรถยนต์ รถไฟความเร็วสูง ต้องมีงานเชื่อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้สถานศึกษาจะต้องมีความร่วมมือกับสถานประกอบการต้องพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย ถ่ายทอดให้นักเรียน นักศึกษามีความรู้ และทักษะเพื่อรองรับตลาดแรงงานคุณภาพใน EEC สำหรับสาขาวิชาชีพดังกล่าวปัจจุบันเป็นสาขาที่ยังขาดแคลนอยู่ จึงอยากฝากถึงผู้เรียน และผู้ปกครองได้พิจารณาได้เห็นถึงความสำคัญของต้องการของตลาดแรงงานที่มีความต้องการวิชาชพีด้านนี้อยู่จำนวนมาก ที่สำคัญมีรายได้ดีด้วย

วฐิต กลางนอก ข่าว/ภาพ
ธีรวัฒน์ อินธิพันธ์ รายงาน

Related posts