แกนนำเครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 ตำบล อ.จะนะ จ.สงขลา รวมตัวยื่นหนังสือ ให้ศึกษา sea โครงการ เมืองต้นแบบ จะนะอย่างเป็นกลาง

แกนนำเครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 ตำบล อ.จะนะ จ.สงขลา รวมตัวยื่นหนังสือ ให้ศึกษา sea โครงการ เมืองต้นแบบ จะนะอย่างเป็นกลาง


วันนี้ 15 กุมภาพันธ์ 2566 แกนนำชุมชนจากตำลบ ตลิ่งชัน สะกอม นาทับ อ. จะนะ สงขลา นำโดย นายเจะโส็ะ หัดเหาะ นายศักรียา อมายา รวมกับแกนนำอื่นๆจำนวนสิบคน ได้เข้ายื่นหนังสือท้วงติง โต้แย้ง กับกระบวนการศึกษาSEAโครงการพัฒนาพื้นที่เขตอุตสาหกรรม ในพื้นที่สามตำบลของอำเภอจะนะ จ.สงขลา ต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยได้กล่าวถึงและแจ้งต่อตัวแทนอธิการบดีที่ออกมารับหนังสือว่า จากการเข้าร่วมประชุมชี้แจงครั้งแรกของคณะผู้ศึกษาที่ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์จากมหาลัยสงขลานครินทร์ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมไปในลักษณะชักชวนปลุกสำนึกให้คัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแผนที่มีมา

อีกทั้งท่ามกลางการนำเสนอความเห็นแบบกลุ่มย่อย มีลักษณะเปิดโอกาสให้กลุ่มแนวคิดชุมชนนิยม ซึ่งต่อต้านการพัฒนาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และกลับปิดกั้นฝ่ายที่สนับสนุนอุตสาหกรรม
แกนนำชุมชนทั้งหมดจึงเห็นว่าน่าจะไม่ถูกต้องชอบธรรมตามหลักการรับฟังความเห็นอย่างเสมอภาค ปราศจากการชี้นำหรือครอบงำ จึงได้ทำหนังสือเสนอแนะและโต้แย้งต่อกรณีต่ออธิการบดีที่เป็นผู้บริหารสูงสุดของคณะอาจารย์เหล่านั้นรวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบต่อนโยบายเป็นกลางของมหาลัยและคณะศึกษา ซึงทราบว่าการศึกษาครั้งนี้ใช้งบประมาณ เกือบ30ล้านบาทและหาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่วางตัวเป็นกลางก็อาจกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสถาบันได้


ต่อมา เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เดินทางไป ยื่นหนังสือกับ ตัวแทนสำนักงานสภาพัฒน์ฯ ภาคใต้ที่ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา หลังจากนั้นจึงได้เดินทางไปยืนหนังสือให้กับ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยมีนายรุ่งโรจน์ และสุบ ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา เป็นผู้รับมอบหนังสือจากกลุ่ม เครือข่ายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งตัวแทนของกลุ่ม ได้กล่าวกับ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรม ถึงความเดือดร้อนที่แท้จริงของ ชาว อ.จะนะ ที่ส่วนใหญ่ ฐานะไม่ดี มีปัญหาเรื่องของอาชีพ ที่ทำแล้วยากจนลงทุกวัน การออกทะเลหาปลา ที่มีการให้ข้อมูลเป็นเท็จว่ามีรายได้ วันละหลายพันบาท

ข้อเท็จจริงคือ ปีหนึ่งออกทะเลได้กี่วันกี่เดือน ตรงนี้ไม่มีการนำมาพูด คนในพื้นที่ทำงานไม่พอเลี้ยงครอบครัว ต้องออกจากบ้านไปหาอาชีพอื่นเช่น ลูกจ้างก่อสร้าง และอื่นๆ นักศึกษาจบมาแล้วไม่มีงานทำ เป็นภาระกับครอบครัวและตัวเอง ฯลฯ
มีการยกตัวอย่างที่ ระยอง ที่ มาบตาพุต ว่า เลวร้าย แต่ถามว่า ทำไม่เขายังอยู่กันได้ มีงานทำ มีรายได้ ไม่ได้อพยพไปไหน เรื่องที่เคยเป็นปัญหาที่ ระยอง ที่ มาบตาพุต” เป็นบทเรียน ถ้า อุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ อ.จะนะ เรื่อง ที่เคยเกิดที่ ระยอง ที่ มาบตาพุต” ต้องไม่เกิดที่จะนะ เพราะต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ดังนั้น เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องการมีการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสนับสนุนให้มี อุตสาหกรรม ในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายปรีชา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา

Related posts