รวบหัวหน้าขบวนการขนคนเข้าเมือง ไม่หลาบ ทำผิดซ้ำระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา

รวบหัวหน้าขบวนการขนคนเข้าเมือง ไม่หลาบ ทำผิดซ้ำระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ใน
ประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทย หรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด


สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจำนงค์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ศิลปคมณ์ เอี่ยมวงศ์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ธนิต
ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม, พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา ผบก.ตม.3, พล.ต.ต.เดชา กัลยาวุฒิพงศ์ ผบก.ตม.4 ร่วมแถลงข่าวการจับกุมผู้ต้องหารายสำคัญโดยมีรายละเอียดดังนี้


กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้รับรายงานจากสายลับไม่ประสงค์ออกนามว่า จะมีการลักลอบขนคนต่างด้าวผิดกฎหมาย ในพื้นที่ อ.สังคม จว.หนองคาย จึงได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่สืบสวนหาข่าวจนทราบวันเวลาที่แน่นอน จึงรายงานต่อผู้บังคับบัญชา พร้อมวางแผนเข้าทำการจับกุม ต่อมาวันที่ 17 ก.ค.65 เวลาประมาณ 21.00 น. ขณะชุดวางกำลังดักซุ่มอยู่ในบริเวณบ้านผาตั้ง ต.ผาตั้ง อ.สังคม จว.หนองคาย พบเรือหางยาวแล่นออกมาจากฝั่ง สปป.ลาว มาจอดเทียบริมแม่น้ำโขงบ้านผาตั้ง ต.ผาตั้ง อ.สังคม จว.หนองคาย จากนั้นได้มีกลุ่มคนลงจากเรือเดินขึ้นฝั่ง โดยมีชายชาวไทยรอรับกลุ่มคนดังกล่าวบริเวณจุดจอดเรือ และพาเดินเท้ามาขึ้นรถยนต์ที่จอดรออยู่ริมถนนสายสังคม-ปากชม

จึงแสดงตัวเข้าตรวจสอบ แต่ชายชาวไทยและคนขับรถไหวตัวทันวิ่งหลบหนีไปในความมืด จนท. สามารถควบคุมคนต่างด้าวไว้ได้ทั้งหมด สอบปากคำเบื้องต้น ทั้งหมดรับว่าเป็นชาวจีน ลักลอบข้ามมาจากประเทศลาว เพื่อจะเดินทางไปทำงานที่ประเทศกัมพูชา โดยมีนายหน้าชาวไทยนัดหมายและแบ่งหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการข้ามแดน และพาเดินทางต่อไปยังชายแดนประเทศกัมพูชา จากการตรวจค้นพบว่าทั้งหมดได้ร่วมกันนำเอาโทรศัพท์มือถือ จำนวน 43 เครื่องติดตัวมาด้วย โดยนายหน้าเป็นคนจัดหาให้เพื่อนำไปใช้งานที่ประเทศกัมพูชา จนท.

จึงได้ควบคุมตัวพร้อมตรวจยึดของกลางนำส่ง พงส. ดำเนินการตามกฎหมาย ต่อมา ตม.จว.หนองคาย ได้ทำการสืบสวนขยายผล ผู้ให้ความช่วยเหลือชาวจีนที่หลบหนีไปในขณะเข้าจับกุม จนกระทั่งทราบว่า นายถิ (นามสมมติ) อายุ 50 ปี อยู่ที่ ม.1 ต.ผาตั้ง อ.สังคม จว.หนองคาย เป็นผู้ทำหน้าที่รอรับชาวจีนที่จุดจอดเรือ แล้วพามาส่งที่รถยนต์บริเวณถนนริมโขง จากการตรวจสอบประวัติคดีพบว่า นายถิ เคยถูกจับกรณีนำพาชาวจีน จำนวน 8 คน เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 25 มี.ค.64 โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.65 ให้จำคุก 2 ปี โทษไม่รอลงอาญา ระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษา ได้รับการประกันตัวออกมา ส่วนผู้ที่นำรถยนต์มารับชาวจีน ทราบชื่อ คือ


นายนุ (นามสมมติ) จึงได้มอบพยานหลักฐานให้ พงส. ดำเนินการขออนุมัติหมายจับ ต่อมาศาลจังหวัดหนองคาย
ได้อนุมัติหมายจับทั้งสองคนข้อหา “ร่วมกันให้ที่พักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ แก่คนต่างด้าว
ซึ่งรู้ว่าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย เพื่อให้พ้นจากการจับกุม” และได้ร่วมกันออกติดตามตัว และสามารถจับกุม นายถิ ได้เมื่อวันที่ 22 ก.ค.65 ส่วนนายนุ จนท. สืบทราบว่า มีอาชีพขับแท็กซี่รับจ้างแถว จว.สมุทรสาคร


และยังคงรับจ้างขนแรงงานต่างด้าวตามชายแดน จว.สระแก้วอยู่ จึงได้ประสานข้อมูล กับ บก.สส.สตม. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามจับกุม จนกระทั่ง วันที่ 23 ก.ค.65 เวลาประมาณ 05.00 น. ชุดสืบสวน บก.สส.สตม. สามารถจับกุมนายนุ ได้ในขณะลักลอบขนแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา จำนวน 6 คน ในเขต ต.ท่าเกษม อ.เมืองสระแก้วจว.สระแก้ว นำส่ง พงส.สภ.สระแก้ว ดำเนินคดี ต่อมา ตม.จว.หนองคาย ได้ประสาน พงส.สภ.สังคม ดำเนินการ
อายัดตัวนายนุ มาดำเนินคดีตามหมายจับศาลจังหวัดหนองคาย ต่อไป


สตม. ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่าง ๆ รวมถึงการเฝ้าระวังบุคคลทั้งสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น ๆ ที่มีหมายจับ และการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทย หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178 หรือที่ www.immigration.go.th จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

Related posts